ชื่อตำลึง
- ชื่อสมุนไพร : ตำลึง
- ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น : ผักแคบ (ภาคเหนือ), ผักตำนิน (ภาคอีสาน), แคเด๊าะ (กะเหรี่ยง)
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coccinia grandis (L.) Voigt.
- ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ : Coccinia indica Wight & Arn., Coccinia cordifolia (L.) Cogn.
ถิ่นกำเนิดตำลึง
- มีการสันนิษฐานว่าถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของตำลึงนั้นอยู่แถบคาบสมุทรมาเลเซีย และอินโดจีน เช่น ประเทศไทย กัมพูชา พม่า เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และจีน เป็นต้น ปัจจุบันพบตำลึงขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในประเทศเขตร้อนชื้นหลายสิบประเทศ แต่มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่รู้จักนำตำลึง มาใช้เป็นผักปรุงอาหาร เช่น ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ จะมีการนำตำลึงมาใช้เป็นสมุนไพรเท่านั้น
สรรพคุณของ ตำลึง
ใบ
- มีรสเย็น ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษ แก้อาการแสบคัน บรรเทาเริม งูสวัด
เถา
- มีรสเย็น สรรพคุณช่วยรักษาโรคตาเจ็บ ใช้แก้ตาฟาง ตาช้ำ
ดอก
- ใช้แก้คัน
ผล
- รักษาโรคผิวหนัง รักษาอาการอักเสบของหลอดลม และช่วยลดน้ำตาลในเลือด
เมล็ด
- นำมาตำกับน้ำมันมะพร้าว ใช้แก้หิด
ราก
- ต้มกับน้ำดื่มลดไข้ ลดอาเจียน
ต้น
- ช้กำจัดกลิ่นตัว น้ำต้มจากต้นตำลึงรักษาเบาหวานได้
ประโยชน์ในอาหาร
- ผักสด: ใบตำลึงสามารถใช้เป็นผักสดในเมนูต่าง ๆ เช่น แกงจืดตำลึง ผัดตำลึง และยำตำลึง
- ผักลวก: ใบและยอดตำลึงลวกสามารถรับประทานคู่กับน้ำพริกหรือใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารต่าง ๆ
- ใช้ทำซุป: ตำลึงสามารถใช้ทำซุปหรือแกงต่าง ๆ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารและรสชาติ