ปก-ต้นก้านพลู,พืชสมุนไพรไทย ,สมุนไพร,คุณค่าทางการเเพทย์
ต้นก้านพลู (Piper betle L.) เป็นพืชสมุนไพรที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมและการแพทย์ในหลายประเทศ โ

สรรพคุณต้นก้านพลู

ชื่อต้นก้านพลู

  • ชื่อสมุนไพร : กานพลู
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium aromaticum (L.) Merr. & Perry
  • ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE
  • ชื่ออังกฤษ : Clove, Clove tree
  • ชื่อท้องถิ่น : จันจี่ (ภาคเหนือ)

ถิ่นกำเนิดของกานพลู

  • กานพลู (Syzygium aromaticum) มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะโมลุกกะ (Moluccas) หรือที่รู้จักกันในชื่อหมู่เกาะเครื่องเทศ (Spice Islands) ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย หมู่เกาะนี้เป็นแหล่งผลิตเครื่องเทศสำคัญในอดีต โดยเฉพาะกานพลูและลูกจันทน์เทศ

การแพร่กระจาย

  • กานพลูได้รับความนิยมและแพร่กระจายไปทั่วโลกโดยพ่อค้าชาวอาหรับและยุโรปตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากความต้องการใช้ในเครื่องเทศและสมุนไพร ในปัจจุบัน กานพลูถูกปลูกในหลายประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศเหมาะสม เช่น อินเดีย ศรีลังกา มาดากัสการ์ และบางส่วนของแอฟริกา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกานพลู

  • กานพลูจัดว่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบอ่อนแต่ปลายแหลม มีสีใบสีชมพูอมแดงอ่อน จะมีต่อมน้ำมันอยู่ทั่วทั้งใบ ดอกมีสีแดงเป็นช่อ และดอกจะออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีกลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง และมีสีแดงอยู่ประปราย และดอกของกานพลูนั้นมีน้ำมันหอมระเหอยู่ ส่วนผลจะมีลักษณะเป็นรูปไข่และมีสีแดงเข้ม

ประโยชน์ทางยาของต้นก้านพลู

ใบ

  • รสร้อน แก้ปวดมวน

เปลือกต้น

  • รสร้อนปร่า แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ

ดอก

  • รสเผ็ดร้อนปร่า เป็นยาแก้พิษโลหิต แก้ปวดท้อง แก้ลมเป็นเหน็บชา แก้พิษน้ำเหลือง แก้อุจจาระให้เป็นปกติ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ปวดฟัน แก้หืด ละลายเสมหะ ดับกลิ่นปาก เป็นต้น
  • ดอกเมื่อตากแห้งแล้วจะเป็นสีแดงน้ำตาล นำมากลั่นใช้ 0.12 – 0.3 กรัม จะเป็นยาแก้ท้องขึ้น ธาตุพิการ ขับผายลมในลำไส้ เป็นยาบำรุง

ผล

https://url.in.th/LMyTU
  • รสร้อนปร่า เป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม นิยมใช้เป็นเครื่องเทศในการประกอบอาหาร

น้ำมันกานพลู

https://url.in.th/CAFPJ
  • รสเผ็ดร้อนปร่า เป็นยาระงับการชักกระตุก แก้ปวดท้อง ขับผายลม และแก้อาการปวดฟัน ทำให้ผิวหนังชา

น้ำมันกานพลูจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ

  • น้ำมันจากดอก ได้มาจากดอกตูมของต้นกานพลู ซึ่งประกอบไปด้วย 60% eugenol , acetyl eugenol , caryophyllene
  • น้ำมันจากใบ ได้มาจากใบของต้นกานพลู ประกอบด้วยยูจินอล 82 – 88%
  • น้ำมันจากต้น มาจากกิ่งและเปลือกต้นของต้นกานพลู ประกอบด้วยยูจินอล 90 – 95%

อันตรายจากน้ำมันกานพลู

  • การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดดอกด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ แต่เมื่อฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนู พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งคือ 6.184 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
  • การศึกษาการเกิดพิษเฉียบพลันของสารสกัด eugenol จากดอกกานพลู ทำการทดลองโดยการพ่นสารทดสอบให้หนูทดลองสูดดมเป็นเวลา 4 ชั่วโมง แล้วติดตามอาการของหนูเป็นเวลา 14 วัน ผลการทดสอบไม่พบการตายของหนู ส่วนอาการและพฤติกรรม พบว่าหนูทดลองมีน้ำลายไหล ระดับปานกลาง มีอาการกระวนกระวาย และหายใจลำบาก แต่อาการเหล่านี้หายเองได้ภายในเวลา 1 วัน แต่เมื่อให้สารนี้ทางหลอดเลือดดำในขนาดเข้มข้น 6.25 โมล/ลิตร พบว่าหนูทดลองมีอาการหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน น้ำท่วมปอด และเลือดออกที่ปอด

ประโยชน์ต้นกานพลู

https://url.in.th/LMyTU
  • ดอกกานพลู ถือเป็นแหล่งน้ำมันกานพลูที่ดีที่สุด เพราะมีน้ำมันอยู่ถึง 16-17% สามารถนำไปทำสบู่ ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก เครื่องหอมต่างๆ และสามารถนำมาผสมเป็นยาซ่าแมลงได้
  • ดอก และผลสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องเทศสำหรับปรุงอาหาร
  • ใช้ฟอกอากาศบริเวณบ้านได้ เพื่อดูดซับมลพิษ และกรองอากาศให้สดชื่น
  • ใช้ถนอมอาหาร เพราะเป็นแหล่งต่อต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติ
  • สามารถใช้แต่งกลิ่น และใช้เป็นวัตถุกันเสียได้

Comments

No comments yet. Why don’t you start the discussion?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *