สมุนไพรแก้ไอ มักนิยมนำมาใช้บรรเทาอาการไอ และขับเสมหะ โดยการรับประทานเพื่อช่วยรักษาอาการเบื้องต้นที่เกิดจากการไอด้วยตัวเอง เพราะ สมุนไพรแก้ไอ มีฤทธิ์ในการช่วยบรรเทาอาการไอ ได้ดี และยังมีกลไกการออกฤทธิ์อื่น ๆ
กลไกที่ทำให้เกิดการเกิดอาการไอ
อาการไอ เป็นการตอบสนองของร่างกายอย่างหนึ่งต่อสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจ และเป็นกลไกป้องกันสำคัญของร่างกายในการกำจัดเชื้อโรค เสมหะ หรือ สิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ และอาการไอยังเป็นช่องทางในการแพร่กระจายเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ที่สามารถติดต่อกันได้ง่ายอีกด้วย
การรักษาอาการไอ
เริ่มจากการหาสาเหตุและทำการรักษาให้ตรงกับอาการ โดยในปัจจุบัน ยาบรรเทาอาการไอ หรือ ยาแก้ไอที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมักเป็นยาแผนปัจจุบันที่ผลิตจากตัวยาสังเคราะห์ ยกตัวอย่าง เช่น
- กลุ่มยาแก้ไอสำหรับอาการไอแบบมีเสมหะ
- กลุ่มยาแก้ไอสำหรับอาการไอแห้ง
- ยาที่ผลิตจากสมุนไพร ที่เป็นยาบรรเทาอาการไอขนานดั้งเดิมโบราณ
สมุนไพรแก้ไอ คืออะไร ?
- เป็นยาที่ผลิตจากสมุนไพรหลากหลายชนิด โดยนำมาใช้เป็นยาบรรเทาอาการไอขนานดั้งเดิม มาตั้งแต่โบราณ เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ ซึ่งประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ ทิงเจอร์ฝิ่นการบูร ที่ออกฤทธิ์ระงับอาการไอ มีสารสำคัญคือสารอัลคาลอยด์ (Codeine) และสารสกัดชะเอม ทำหน้าที่เคลือบ และป้องกันเยื่อบุทางเดินหายใจจากเสมหะและสิ่งระคายเคือง ใช้บรรเทาอาการไอแห้ง หรือ การไอแบบมีเสมหะใสในผู้ใหญ่ที่มีการไอบ่อยครั้ง ซึ่งสมุนไพร ที่ใช้สำหรับอาการไอนั้น สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1. สมุนไพรบรรเทาอาการไอ
- สมุนไพรเคลือบเยื่อบุทางเดินหายใจ ที่มีสรรพคุณช่วยลดอาการระคายเคือง เช่น น้ำผึ้ง มะนาว มะขามป้อม และสมุนไพรที่มีฤทธิ์กดศูนย์ไอในสมอง เช่น ฝิ่น ซึ่งจัดเป็นตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 โดยในร้านยาที่มีการจำหน่ายจะต้องมีเภสัชกร (แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง) เป็นผู้ควบคุมปฏิบัติการอยู่
2. สมุนไพรขับเสมหะ
- นำสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย เช่น เหง้าขิง ผลดีปลี ดอกกานพลู ผลพริกไทย ต้นกะเพรา หรือ สมุนไพรที่มีกรดอินทรีย์ซึ่งมีรสเปรี้ยว เช่น เนื้อฝักมะขามแก่ น้ำมะนาว ผลมะขามป้อม ผลบ๊วย ผลมะนาวดอง ที่แสดงฤทธิ์ในการบรรเทาอาการไอได้ดี และมีกลไกการออกฤทธิ์อื่น ๆ ได้แก่ ผลมะแว้งเครือ ผลมะแว้งต้น ใบเสนียด เมล็ดเพกา
สมุนไพรแก้ไอ มีอะไรบ้าง
1. มะแว้งต้น (Solanum Indium) หรือ มะแว้งเครือ (Solanum Trilobatum) มีสารสำคัญได้แก่อัลคาลอยด์ solasodine ใช้ผลแก่ที่ยังไม่เปลี่ยนเป็นสีแดงของมะแว้งต้นหรือมะแว้งเครือ จำนวน 10-20 ผล กินแก้ไอ ขับเสมหะ เด็กใช้ 2-3 ผล ตำกวาดคอ
2. มะนาว (Citrus Aurantifolia) มีสารสำคัญคือ Citric Acid ใช้น้ำคั้นผลที่มีรสเปรี้ยว 2-3 ช้อนโต๊ะ ผสมกับเกลือเล็กน้อยจิบบ่อย ๆ
3. มะขาม (Tamarindus Indica) มีสารสำคัญในเนื้อฝักมะขามแก่ คือ Tartaric Acid ที่ช่วยบรรเทาอาการไอโดยใช้เนื้อฝักแก่จิ้มเกลือรับประทาน หรือ คั้นน้ำผสมเกลือจิบ