กรดไหลย้อน เกิดขึ้นเมื่อสารคัดหลั่งในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับมาที่หลอดอาหาร เมื่อเรากลืนอาหารลงไป กล้ามเนื้อหูรูดที่ตั้งที่ปลายหลอดอาหารจะคลายตัวเพื่อเปิดทางให้อาหารและน้ำไหลเข้าสู่กระเพาะอาหาร ในภาวะปกติ กล้ามเนื้อหูรูดก็จะปิดลงอีกครั้งเพื่อป้องกันการไหลย้อนของน้ำย่อยที่อยู่ในกระเพาะอาหาร
กรดไหลย้อนมีกี่ระยะ
ระยะที่ 1 โรคกระเพาะอาหาร
- ถือเป็นสัญญาณแรกของโรคกรดไหลย้อน ซึ่งมักแสดงอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่น และรู้สึกว่ามีลมในกระเพาะอาหาร สำหรับผู้ที่พบว่าตนเองอยู่ในระยะนี้ควรใส่ใจกับการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา
ระยะที่ 2 ปัญหาลำไส้
- ทำให้กระบวนการย่อยอาหารไม่เต็มที่ อาหารตกค้างในลำไส้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการท้องผูก ขับถ่ายไม่ปกติ เรอบ่อย รู้สึกแสบร้อนบริเวณหน้าอก และกลืนลำบาก ผายลมเหม็น
ระยะที่ 3 สารอาหารในเลือดน้อยมีอาการหนักมากขึ้น
- ร่างกายจะแสดงอาการอ่อนเพลีย รู้สึกจุกแน่นท้องบ่อย แสบหน้าอก เรอมีรสเปรี้ยวและขมคอ ท้องผูก และกลืนอาหารลำบาก น้ำหนักลดลง ในกรณีนี้ควรพบแพทย์เพื่อการตรวจร่างกายและรับการรักษา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินสามารถช่วยบรรเทาอาการ รวมถึงวิธีแก้กรดไหลย้อน แบบธรรมชาติ คือการลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง การงดดื่มสุรา การเลิกสูบบุหรี่ และการลดการบริโภคน้ำอัดลม ชา และกาแฟ
สมุนไพรตัวช่วยดีดี
ขิง
มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานในร่างกาย และช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ในร่างกาย ตั้งแต่อาการคลื่นไส้ไปจนถึงกรดไหลย้อน โดยประกอบด้วยสารประกอบฟีนอลิก (Phenolic Compounds) ที่ช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองในทางเดินอาหารและลดการบีบตัวของกระเพาะอาหาร จึงอาจช่วยลดการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารเข้าสู่หลอดอาหาร
กล้วย
กล้วยอาจเป็นอีกตัวช่วยที่สามารถลดอาการแสบร้อนกลางอกได้ เพราะเป็นผลไม้ที่มีค่าเป็นด่าง (Alkaline) ซึ่งช่วยเคลือบเยื่อบุด้านในหลอดอาหารที่ระคายเคือง และมีใยอาหารเพคติน (Pectin) สูง ซึ่งช่วยให้ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายดี เพียงรับประทานกล้วยสุกเป็นประจำทุกวัน ก็จะช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อนและป้องกันอาการท้องผูกได้ แถมอิ่มเบา ๆ สบายท้องอีกด้วย
มัสตาร์ด
มัสตาร์ดเป็นเครื่องเทศที่ใช้ปรุงอาหาร เมล็ดมัสตาร์ดอุดมด้วยสารกลูโคไซโนเลตส์ (Glucosinolates) ที่ทำให้มัสตาร์ดมีกลิ่นและรสจัด ศาสตร์แพทย์แผนโบราณอย่างอายุรเวทใช้มัสตาร์ดในการรักษากรดไหลย้อน โดยเชื่อว่าคุณสมบัติที่เป็นด่างของมัสตาร์ดอาจช่วยรักษาสมดุลของกรดในกระเพาะอาหารได้