รสชาติของยาสมุนไพร,พืชสมุนไพรไทย ,สมุนไพร,คุณค่าทางจากธรรมชาติ
สมุนไพรมักมีรสชาติที่หลากหลายตามชนิดของพืชและส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ตั้งแต่รสชาติหวานจนถึงรสชาติขมหรือเปรี้ยวกว่ากัน ตัวอย่างเช่น หมากเขียวมีรสชาติหวานเบาๆ ในขณะที่ตะไคร้มีรสชาติเปรี้ยวอมหวานและหอมมาก เมื่อใช้ในการทำเครื่องดื่มหรืออาหารแบบต่าง ๆ

ความอร่อยของสมุนไพรจากธรรมชาติ

สมุนไพรเเก้ปวด
สมุนไพรคือพืชที่มีคุณสมบัติทางยาหรือสารสำคัญทางเคมีที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ สมุนไพรมักถูกใช้ในการรักษาโรคหรือบำรุงร่างกายในแต่ละวัย นอกจากนี้ยังมีการใช้สมุนไพรในเครื่องสำอาง อาหาร เครื่องดื่ม หรือการผลิตผลิตภัณฑ์ความงามอื่น ๆ ด้วย เช่น องุ่นไทย กระเพราขาว ตะไคร้
  • พืชสมุนไพรพื้นบ้านในตำรายาไทยนั้นมีหลายร้อยชนิด หลากหลายคุณสมบัติ หลากหลายคุณค่า และมีประโยชน์ที่มีความแตกต่างกันออกไป สามารถนำมาใช้รักษาโรคที่แตกต่างกันออกไปตามฤทธิ์ของสมุนไพรนั้นๆ สามารถแยกตามกลุ่มพืชที่ใช้บำบัดโรคต่างๆได้ สมุนไพรมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ตามสารสกัด และรสชาติ เช่น รสชาติหวาน แก้อาการฟกช้ำ แก้อาการอ่อนเพลีย รสชาติฝาด ช่วยสมานแผล แก้อาการท้องร่วง รสชาติขม ช่วยลดความร้อนในร่างกาย บำรุงน้ำดี เป็นต้น

พืชสมุนไพร คือ

  • การใช้พืชสมุนไพรมาทำเป็นยารักษาโรค โดยใช้ส่วนที่ต่างกันในพืชชนิดเดียวกัน หรือพืชหลายชนิดพร้อมกัน พืชสมุนไพรเป็นกลุ่มที่มีความสนใจมาก มีผู้ศึกษาทางด้านพฤกศาสตร์พื้นบ้าน ยารักษาโรคในปัจจุบันหลายขนานที่มีการผลิตเป็นอุตสาหกรรม ได้มาจากการศึกษาและการทำวิจัยในการใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้านของกลุ่มชุมชน ตามป่าเขา หรือในชนบทต่างๆ ที่มีการได้รับสืบทอด ถ่ายทอดกันมาจากบรรพบุรุษ จากรุ่นสู่รุ่น ที่ได้มีการสังเกตว่า พืชชนิดไหนสามารถนำมาใช้รักษาโรคได้ ชนิดไหนมีสรรพคุณอย่างไร จากการทดลอง และจากการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ ได้ทั้งข้อดี และข้อผิดพลาดมากกมาย

รสชาติของยาสมุนไพร

1. รสฝาด

  • ยาสมุนไพรที่มีรสฝาดนั้นจะมีสารสำคัญ คือ แทนนิน เป็นกรดอ่อน มักพบในส่วนของเปลือกต้น หรือจากแก่นของพืชเป็นส่วนใหญ่ มีสรรพคุณทางยา คือ ช่วยสมานแผล แก้อาการท้องร่วง บำรุงธาตุในร่างกาย แก้บิด ช่วยฆ่าเชื้อโรค แก้ร้อนใน เคลือบแผลในกระเพาะอาหาร ยับยั้การเติบโตของแบคทีเรีย เมื่อมีอาการเจ็บป่วยร่างกายสามารถนำสมุนไพร หรืออาหารรสชาติฝาดมาช่วยในการรักษาอาการ หรือดูแลสุขภาพได้ เช่น ขนุนอ่อน ยอดมะกอก ยอดจิก ยอดมะม่วง เป็นต้น

2. รสหวาน

  • สมุนไพรที่มีรสชาติหวานนั้นจะออกฤทธิ์ด้วยการซึมซาบไปตามเนื้อ จึงสามารถช่วยแก้อาการฟกช้ำ แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยลดความเครียด เสริมสร้างสุขภาพโดยรวม เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน แก้หอบ ชุ่มคอ แก้ไอ และเจริญอาหาร สามารถนำสมุนไพรรสหวานมาเจือกับยารสขมเพื่อให้ทานยาได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น หญ้าหวาน ตังกุย มะตูม ชะเอมเทศ ผักหวานป่า เห็ด น้ำผึ้ง ชะเอมไทย ฝักเชียน ดอกคำฝอย รากหญ้าคา เป็นต้น

3. รสเผ็ดร้อน

  • สมุนไพรรสเผ็ดร้อนมีสรรพคุณทางยา คือ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ช่วยเผาผลาญไขมัน ลดความอยากอาหาร ลดอาการคลื่นไส้ และอาการอักเสบ บำรุงระบบทางเดินปัสสาวะ แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ท้องอืด แก้ตะคริว บำรุงธาตุ ขับเหงื่อ ขับโลหิต ขับลม ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้ฝียุบ เช่น ลูกกระวาน ขิง ข่า กระเพรา ตะไคร้ หัวหอม กระชาย กานพลู เร่ว กระเทียม ดีปลี พริก พริกไทย รากพาดไฉน เป็นต้น

4. รสเปรี้ยว

  • มีสรรพคุณทางยา คือ ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร เพิ่มการหลั่งน้ำย่อย และมีวิตามินซีสูง ขับเสมหะ ช่วยระบายท้อง แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน บำรุงเลือด ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ขับลม บำรุงผิวพรรณ ช่วยลดไขมันในเลือด ขับปัสสาวะ และบำรุงหัวใจ ช่วยในการย่อยอาหาร เช่น ยอดมะขามอ่อน มะนาว มะกรูด ยอดชะมวง มะดัน ส้มเสี้ยว ยอดมะกอก รากมะกล่ำทั้งสอง ส้มป่อย ยอดผักติ้ว ส้มกุ้ง ผักกาดส้ม กระเจี๊ยบแดง เป็นต้น

5. รสหอมเย็น

  • มีสรรพคุณทางยา คือ ช่วยบำรุงหัวใจ ใช้รักษาเกี่ยวกับฮอร์โมน แก้อาการใจหวิวใจสั่น ลดอาการท้องอืด ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก ลดอาการเจ็บคอ ช่วยบรรเทาอาการเครียด ลดอาการปวดศีรษะและปวดท้อง ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย บำรุงอารมณ์ ทำให้สดชื่น ไทรอยด์ แก้อ่อนเพลีย ช่วยให้นอนหลับสบาย ป้องกันยุง เช่น สะระแหน่ เตยหอม โหระพา เกสรทั้ง 5 กฤษณา กระลำพัก พิมเสนในปล้องไม้ไผ่ ตะไคร้หอม มะลิ โสน ดอกขจร บัว ผักบุ้งไทย ดอกเก๊กฮวย ลาเวนเดอร์ เป็นต้น

6. รสมัน

  • สมุนไพรรสขม สรรพคุณทางยา คือ เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงเส้นเอ็น ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงสมอง เสริมสร้างระบบย่อยอาหาร แก้ข้อพิการ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มความอบอุ่นในร่างกาย แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ใช้ในการบำรุงร่างกาย เสริมสร้างสุขภาพ มีสรรพคุณในการบำรุงกำลัง บำรุงเลือด และช่วยในการฟื้นฟูร่างกาย เช่น งา เม็ดบัว บัวบก แก่นกันเกรา ถั่วพู ฟักทอง ถั่วลิสง มันเทศ เลือดแรด รากบัว สะตอ เนียง เผือก ชะอม โสม เป็นต้น

7. รสขม

  • สมุนไพรรสขม มีสรรพคุณทางยา คือ บำรุงร่างกายช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหาร เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการทำงานของตับ บำรุงสายตาขับลม ลดไข้ ต้านการอักเสบ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิต ช่วยระบายท้อง ทำให้เจริญอาหาร แก้ไข้ต่างๆ เช่น แห้ม ขมิ้นชัน มะระขี้นก ลิงลาว ฟ้าทะลายโตร แปะตุ๊ก บอระเพ็ด ใบยอ สะเดา ขี้เหล็ก ดีของสัตว์ มะกา มะแว้ง เพกา เป็นต้น

Comments

No comments yet. Why don’t you start the discussion?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *