สารสกัดจากธรรมชาติหรือสารสกัดจากสมุนไพร สารสกัดจากพืช ได้ถูกน้ำมาประยุกต์และวิจัยใช้เข้ากับผลิตภัณฑ์ต่างๆอย่างมากมาย เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารเสริม เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ยารักษาโรค เป็นต้น เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญใส่ใจกับสุขภาพและความปลอดภัยมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ
กระบวนการสกัดสมุนไพรไทย
สารสกัดจากธรรมชาติหรือสารสกัดจากสมุนไพร สารสกัดจากพืช ได้ถูกน้ำมาประยุกต์และวิจัยใช้เข้ากับผลิตภัณฑ์ต่างๆอย่างมากมาย เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารเสริม เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ยารักษาโรค เป็นต้น เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญใส่ใจกับสุขภาพและความปลอดภัยมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีการผสมสารสกัดจากสมุนไพรต่างๆ พืชสมุนไพรเป็นแหล่งของสารออกฤทธิ์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและความงามมากมาย สารสกัดที่ดีและมีประสิทธิภาพมักจะเป็นสารที่ออกฤทธิ์ที่เข้มข้น การสกัดสารด้วยของไหลวิกฤติยิ่งยวด เป็นเทคนิคการใช้ของไหลวิกฤติยิ่งยวด ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีบทบาทต่อการสกัดผลิตภัณฑ์สารสกัดจากธรรมชาติ เช่น การสกัดสี กลิ่น และน้ำมันหอมละเหย สมุนไพรสด สมุนไพรแห้งหรือสมุนไพรผง
ประเภทตามวิธีการสกัดสารจากสมุนไพรไทย
1. การสกัดด้วยน้ำ (Infusion)
ใช้น้ำร้อนหรือน้ำเย็นสำหรับสกัดสมุนไพรที่มีสารสกัดที่ละลายในน้ำได้ดี เช่น ใบสะเดา ตะไคร้ เป็นต้นวิธีนี้ทำได้ง่าย แต่อาจไม่ได้สารสกัดทั้งหมดที่มีอยู่ในสมุนไพร การต้มตั้งไฟเคี่ยวต่อจนได้น้ำหนักที่ต้องการ ส่วนใหญ่จะนิยมให้น้ำหนักน้ำสกัดเท่ากับน้ำหนักสมุนไพรที่นำมาสกัด เช่น สมุนไพร 1 กก. เมื่อสกัดเสร็จแล้ว ได้น้ำสกัด 1 กก. ซึ่งง่ายต่อการคำนวณสัดส่วน ข้อเสีย กรณีที่จะเตรียมเก็บนานๆ อาจมีเชื้อแบคทีเรีย หรือรา ทำให้บูดเน่าเสียได้ง่าย สามารถแก้ไขได้ 2 วิธี คือ เติมสารกันเสีย หรือเคี่ยวให้เข้มข้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น เคี่ยวจนเหลือน้ำหนัก 1 ใน 5 แต่ต้องระวังไม่ให้ไหม้ และจดน้ำหนักสุดท้ายที่ได้ การกลั่นด้วยน้ำหรือการกลั่นด้วยไอน้ำ กำจัดน้ำที่เหลือเพียงเล็กน้อยออกจากน้ำมันหอมระเหยด้วยแมกนีเซียมซัลเฟตหรือโซเดียมซัลเฟต ซึ่งเป็นตัวช่วยดูดน้ำออก
2. การสกัดด้วยแอลกอฮอล์ (Tincture)
ใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวละลายเพื่อสกัดสารสกัดที่ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ เช่น ขมิ้น กระชาย เป็นต้นวิธีการนี้มักจะทำให้ได้สารสกัดมากที่สุดและคงทน การสกัดสมุนไพรด้วยแอลกอฮอล์แบบง่ายๆ ก็คือ การนำสมุนไพรมาหมัก หรือดองด้วยแอลกอฮอล์ วิธีการเตรียม คือ นำสมุนไพรหั่นเป็นชิ้นเล็ก หรือบดเป็นผงหยาบๆ แล้วใส่เหล้า หรือแอลกอฮอล์ให้ท่วมสมุนไพร ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ ก็จะได้สารสกัดแอลกอฮอล์ของสมุนไพรนั้นๆ ทั้งนี้แอลกอฮอล์ทั่วไปที่นิยมใช้จะเป็น 95% เอทิลแอลกอฮอล์ ส่วนการนำไปใช้แล้วแต่วัตถุประสงค์ โดยอาจทำให้สารสกัดเข้มข้นขึ้นโดยการระเหยส่วนแอลกอฮอล์ออกก่อน
3. การสกัดด้วยน้ำมัน (Oil Infusion)
ใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันถั่วเหลือง ละลายสารสกัดที่ละลายได้ในน้ำมัน เช่น ตะไคร้ ขึ้นฉ่าย เป็นต้นวิธีนี้ใช้เวลานานและต้องการความใส่ใจในการควบคุมอุณหภูมิการสกัดสมุนไพรด้วยน้ำมันเป็นวิธีที่ใช้สารสกัดจากสมุนไพรโดยใช้น้ำมันเป็นสารละลาย มีหลายวิธีในการทำสกัดสมุนไพรด้วยน้ำมัน โดยที่สามารถใช้ได้กับสมุนไพรต่าง ๆ ตามความต้องการของการใช้งาน เช่น เพื่อใช้ทาผิวหรือในการนวดระยะยาวด้วยลักษณะที่สกัดมาได้ในลักษณะที่ดี ใส่สมุนไพรให้เต็มขวด หรือภาชนะที่จะแช่ แล้วเติมน้ำมันพืชให้ท่วมสมุนไพร ปิดฝาแล้วทิ้งไว้ที่ ๆ มีแสงแดดส่องถึง นาน 2-3 สัปดาห์ แล้วนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง คั้นเอาสมุนไพรส่วนที่เหลือออกให้หมด แล้วเทเก็บใส่ไว้ในขวดสีทึบมีฝาปิด หากต้องการความเข้มข้นของตัวยามากขึ้น อาจจะทำได้โดยเติมยาสมุนไพรแช่ลงไปอีกครั้ง